วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง


คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง (อังกฤษ: storm surge หรือ tidal surge) คือคลื่นที่เกิดจากการยกตัวขึ้นของน้ำทะเลนอกชายฝั่งด้วยอิทธิพลของ ความกดอากาศต่ำ[1] และอิทธิพลของ พายุหมุนเขตร้อน คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งขั้นตอนแรกเกิดจากลมความเร็วสูงที่พัดผลักดันผิวมหาสมุทร ลมจะทำให้น้ำยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำทะเลปกติ ขั้นตอนที่สองคือความกดอากาศต่ำที่ศูนย์กลางพายุ(ตาพายุ) มีผลเพิ่มยกระดับน้ำขึ้นอีกเล็กน้อย และอีกสาเหตุคือ ชั้นความลึก (bathymetry) ของน้ำทะเล ผลกระทบรวมจากปรากฏการณ์ความกดอากาศต่ำร่วมกับการพัดของลมพายุเหนือทะเลน้ำตื้นนี้เอง ที่เป็นต้นเหตุของอุทกภัยจากคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง คำว่า “คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง” มีอีกคำที่ใช้แบบไม่เป็นทางการ (ไม่ใช่ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์) คือ “storm tide” (น้ำขึ้นหนุนจากพายุ) นั่นเพราะ มันเกี่ยวโยงกับการยกขึ้นของน้ำทะเลจากพายุ, ภาวะน้ำขึ้นหนุน (plus tide), คลื่นเคลื่อนยกตัว (wave run-up), และการท่วมหลากของน้ำจืด เมื่อเอ่ยถึงอ้างอิงความสูงของคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง สิ่งสำคัญคือความชัดเจนของจุดอ้างอิง จากรายงานพายุหมุนเขตร้อนของศูนย์พายุหมุนแห่งชาติ (National Hurricane Center -NHC) [2] รายงานอ้างอิง คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง จากความสูงของระดับน้ำที่สูงเหนือจากระดับน้ำขึ้นของอุตุพยากรณ์ และความสูงของระดับน้ำที่ถูกพายุยกขึ้นเหนือจากสถิติระดับน้ำทะเลที่อ้างอิงในพ.ศ. 2472 (NGVD-29) [3]


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น