วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

สืบค้นเว็บไซต์เรื่องคลื่น

1.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99

2.http://www.bkw.ac.th/content/snet3/saowalak/wave/wave.htm

3.http://www.icphysics.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54

4.http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_1.htm

5.http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/sonic.htm

6.http://blake.prohosting.com/pstutor/physics/wave/wave_concept.html

7.http://www.school.net.th/library/snet3/saowalak/wave/wave.htm

8.http://www.absorn.ac.th/e-learning/ebook/supatra/b4.htm

9.http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=077319e94ff39886

10.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/saowalak/wave/mechanical_wave/m_wave.htm

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เหตุการณ์คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งในประเทศไทย


ในอดีตประเทศไทยก็เคยเกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากพายุหมุนเขตร้อนแฮเรียต มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 300 กิโลเมตร ความเร็วลม 180 - 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในการเคลื่อนที่ 92.622 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดคลื่นยักษ์สูงประมาณยอดต้นสน(20 ม.) สร้างความเสียหายให้ 9 จังหวัดในภาคใต้เป็นอย่างมาก สถานที่ราชการ อาคารบ้านเรือน โรงเรียน วัด ถูกพายุพัดพังระเนระนาด การไฟฟ้าและสถานีวิทยุตำรวจเสียหายหนัก ไม่สามารถติดต่อกันได้ เรือที่ออกทะเลเสียหายมากมาย ต้นยาง ต้นมะพร้าว และต้นไม้อื่นๆ ล้มพินาศมหาศาล สวนยางนับแสนๆ ต้นโค่นล้มขวางเป็นสิบๆ กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 911 คน, สูญหาย 142 คน, บาดเจ็บสาหัส 252 คน,ไม่มีที่อยู่อาศัย 10,314 คน, บ้านเสียหาย 42,409 หลังคาเรือน,โรงเรียน 435 หลัง


สโลช (SLOSH)

ตัวอย่างการเดินแบบจำลองสโลช (SLOSH run)ดูบทความหลัก: การพยากรณ์พายุหมุนเขตร้อน

ศูนย์พายุหมุนแห่งชาติได้พยากรณ์ไว้ว่าคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งโดยใช้แบบจำลองสโลช หรือ SLOSH ซึ่งย่อมาจาก “คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งจากพายุหมุนในทะเลสาบและบนแผ่นดิน” ในภาษาอังกฤษ คือ Lake and Overland Surges from Hurricanes. แบบจำลองนี้มีความแม่นยำภายใน 20 percent.[11] ข้อมูล “สโลช” รับเข้า (input) รวมถึงความกดอากาศส่วนกลางของพายุหมุนเขตร้อน, ขนาดของพายุ, การเคลื่อนตัวของพายุ, เส้นทางการเคลื่อนตัว, และความเร็วลมคงที่สูงสุด นอกจากนี้ยังต้องนำเอาลักษณะภูมิประเทศท้องถิ่น, การหันเหทิศทางของอ่าวและแม่น้ำ, ความลึกของก้นทะเล, การขึ้นลงเชิงดาราศาสตร์ของน้ำ (น้ำขึ้นน้ำลง) , รวมทั้งรูปโฉมทางกายภาพอื่นๆ เข้ามานับร่วมกันเพื่อการกำหนดกริดหรือตารางล่วงหน้าที่เรียกว่า “แอ่งสโลช” (SLOSH basin) แล้วจึงนำแอ่งสโลชมาทับซ้อนสำหรับเส้นแนวชายฝั่งทะเลด้านใต้และตะวันออกของแผ่นทวีปอเมริกา[12] ในการจำลองพายุบางครั้งอาจใช้แอ่งสโลชมากว่า 1 แอ่ง เช่นการเดินแบบจำลองสโลชแคทรินาซึ่งใช้ทั้งแอ่งทะเลสาบพอนชาร์เทรน/นิวออร์ลีนส์ และ แอ่งมิสซิสซิบปีซาวด์ร่วมกันเพื่อใช้กับการขึ้นฝั่งของพายุ (landfall) ของอ่าวเม็กซิโก

การบรรเทา
แม้การสำรวจทางอุตุนิยมจะเตือนภัยพายุหมุนหรือพายุร้ายแรงทั่วๆ ไปแล้วก็ตาม ในบางกรณีบางพื้นที่ที่มีความเสียงต่อน้ำท่วมชายฝั่งสูงเฉพาะที่บางแห่งจะมีการเตือนเกี่ยวกับคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งเฉพาะเป็นครั้งๆ อยู่ด้วยเหมือนกัน ได้มีการปฏิบัติจริงอยู่แล้วหลายแห่ง เช่นประเทศเนเธอร์แลนด์[13] สเปน,[14][15] สหรัฐ,[16][17] และ สหราชอาณาจักร.[18]

กรรมวิธีเพื่อป้องคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งเริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ทะเลเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2496 โดยการสร้างเขื่อนและประตูกั้นน้ำท่วม[12] (พนังกั้นคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง) ปกติจะเปิดให้น้ำและเรือผ่านเข้าออก แต่จะปิดเมื่อมีที่ท่าว่าอาจถูกคุกคามจากคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง พนังกั้นพายุยกที่สำคัญได้แก่พนัง Oosterscheldekering และ Maeslantkering ในเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการงานสามเหลี่ยม ( Delta Works project) และ พนังเทมส์ ( Thames Barrier) ที่ใช้ป้องกันกรุงลอนดอน

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87

กลไก


อิทธิพลที่มีผลต่อการการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในระหว่างเกิดพายุมีอย่างน้อย 5 อิทธิพล: อิทธิพลความกดอากาศ, อิทธิพลโดยตรงจากลมพายุ, อิทธิพลของการหมุนตัวของโลก, อิทธิพลของคลื่น, และอิทธิพลของปริมาณน้ำฝนที่ตก[1]

อิทธิพลความกดอากาศของพายุหมุนเขตร้อนจะทำให้ระดับของน้ำในทะเลเปิดยกตัวสูงขึ้นในเขตที่บรรยากาศมีความกดอากาศต่ำ และลดระดับต่ำลงในเขตบรรยากาศมีความกดอากาศสูง ระดับน้ำที่ยกตัวสูงขึ้นจะแปรผกผันกับความกดอากาศที่ต่ำลง เพื่อที่จะทำให้ความกดโดยรวมที่ระนาบของใต้ผิวน้ำคงที่ ผลกระทบนี้ทำให้ประมาณได้ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 10 มิลลิเมตร (0.4 นิ้ว) ต่อทุกๆ 1 มิลลิบาร์[4]ที่ลดลงของความกดอากาศ[1]

ความแรงที่พื้นผิวลมเป็นสาเหตุโดยตรงของความสูงชันของพายุลม ปรากฏการณ์นี้รู้จักกันในชื่อ Ekman Spiral[5] มีข้อเท็จจริงที่ว่าความกดดันของลม(wind stress) เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์การก่อตัวของลม นั่นคือมีแนวโน้มที่ระดับน้ำจะยกเพิ่มในด้านทิศเดียวกับกระแสลมที่พัดเข้าฝั่ง และระดับน้ำจะลดลงในด้านตรงกันข้าม เพราะเหตุนี้จึงเป็นธรรมดาที่พายุจะพัดน้ำซัดอ่าวในทิศทางไปของพายุ เพราะเหตุว่า (Ekman Spiral) มีผลจากการแผ่ในแนวฉากของลมที่ผ่านน้ำ และผลกระทบนี้จะแปรผกผันกับความลึกของน้ำ อิทธิพลความดันและการก่อตัวของลมในทะเลเปิดจะผลักดันน้ำเข้าสู่อ่าวในแนวเดียวกับอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง

อิทธิพลของการหมุนของโลกเป็นสาเหตุของ Coriolis effect[6] ซึ่งปรากฏการณ์จะทำให้ทิศทางกระแสน้ำ เบี่ยงโค้งไปทางขวาในซีกโลกเหนือ และเบี่ยงโค้งไปทางซ้ายในซีกโลกใต้จากอิทธิพลของการหมุนของโลก เมื่อโค้งของกระแสน้ำเข้าพุ่งปะทะกับชายฝั่งในแนวตั้งฉากจะไปเพิ่มขยายคลื่นที่ยกตัวให้เพิ่มขึ้น และหากโค้งของกระแสน้ำหันออกจากชายฝั่งมีผลให้คลื่นที่ยกตัวนั้นลดลง

อิทธิพลของคลื่น ขณะที่คลื่นได้รับกำลังจากลม โดยเฉพาะจากพลังของลมพายุ ลมที่มีพลังจะยกคลื่นให้ใหญ่และแรงในทิศทางเดียวกันกับแนวการเคลื่อนที่ของลม แม้กระนั้นก็จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ผิวคลื่นเพียงเล็กน้อยในทะเลเปิด(ทะเลลึก) แต่มันจะมีผลให้คลื่นขยายตัวใหญ่และแรงขึ้นคลื่นนั้นเมื่อเข้าใกล้ชายฝั่ง เมื่อแนวคลื่นที่กำลังแตกตัวขนานกับหาดมันนำน้ำจำนวนมากซัดตรงเข้าสู่ฝั่ง ขณะที่คลื่นแตกตัวอนุภาคของน้ำที่เคลื่อนเข้าฝั่งนั้นมีโมเมนตัมจำนวนมาก จนอาจซัดกระเซ็นขึ้นไปตามความชันของหาดจนสูงเหนือระดับน้ำทะเลและคลื่นที่ตามมาในลูกที่สองถูกซัดสูงขึ้นก่อนที่มันจะแตกกระจาย

ปริมาณน้ำฝนที่ตกมีอิทธิพลมากตรงบริเวณปากแม่น้ำหรือปากอ่าว(estuaries)[7] (บริเวณที่น้ำจืดกับน้ำเค็มบรรจบกัน) ในพื้นที่เปิดเฮอร์ริเคนสามารถสร้างปริมาณน้ำฝนได้ถึง 12 นิ้วใน 24 ชม. และอาจจะสูงกว่าในพื้นที่ปิด ผลที่ตามมาคือ สัมปันน้ำ(watersheds )[8]( (ร่องเขาที่เป็นแนวร่องน้ำ)น้ำจะไหลบ่าอย่างเร็วระบายสู่แม่น้ำ นี่ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงในระดับสูงสุดของระดับน้ำขึ้นบริเวณปากแม่น้ำ เป็นเพราะพายุขับดันคลื่นยกตัวจากมหาสมุทรและน้ำฝนที่ไหลมาจากปากแม่น้ำ(estuary)

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87

คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง


คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง (อังกฤษ: storm surge หรือ tidal surge) คือคลื่นที่เกิดจากการยกตัวขึ้นของน้ำทะเลนอกชายฝั่งด้วยอิทธิพลของ ความกดอากาศต่ำ[1] และอิทธิพลของ พายุหมุนเขตร้อน คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งขั้นตอนแรกเกิดจากลมความเร็วสูงที่พัดผลักดันผิวมหาสมุทร ลมจะทำให้น้ำยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำทะเลปกติ ขั้นตอนที่สองคือความกดอากาศต่ำที่ศูนย์กลางพายุ(ตาพายุ) มีผลเพิ่มยกระดับน้ำขึ้นอีกเล็กน้อย และอีกสาเหตุคือ ชั้นความลึก (bathymetry) ของน้ำทะเล ผลกระทบรวมจากปรากฏการณ์ความกดอากาศต่ำร่วมกับการพัดของลมพายุเหนือทะเลน้ำตื้นนี้เอง ที่เป็นต้นเหตุของอุทกภัยจากคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง คำว่า “คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง” มีอีกคำที่ใช้แบบไม่เป็นทางการ (ไม่ใช่ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์) คือ “storm tide” (น้ำขึ้นหนุนจากพายุ) นั่นเพราะ มันเกี่ยวโยงกับการยกขึ้นของน้ำทะเลจากพายุ, ภาวะน้ำขึ้นหนุน (plus tide), คลื่นเคลื่อนยกตัว (wave run-up), และการท่วมหลากของน้ำจืด เมื่อเอ่ยถึงอ้างอิงความสูงของคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง สิ่งสำคัญคือความชัดเจนของจุดอ้างอิง จากรายงานพายุหมุนเขตร้อนของศูนย์พายุหมุนแห่งชาติ (National Hurricane Center -NHC) [2] รายงานอ้างอิง คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง จากความสูงของระดับน้ำที่สูงเหนือจากระดับน้ำขึ้นของอุตุพยากรณ์ และความสูงของระดับน้ำที่ถูกพายุยกขึ้นเหนือจากสถิติระดับน้ำทะเลที่อ้างอิงในพ.ศ. 2472 (NGVD-29) [3]


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87

คลื่นยักษ์

คลื่นยักษ์ มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษหลายชื่อคือ ฟรีกเวฟ (freak wave) โรกเวฟ (rogue wave) หรือ มอนสเตอร์เวฟ (monster wave) เป็นคลื่นผิวน้ำขนาดใหญ่ และฉับพลัน สามารถล่มเรือขนาดกลางถึงใหญ่ ในอดีตเชื่อกันว่าเป็นเพียงเรื่องเล่าลือ แต่ในปัจจุบันได้มีการยืนยันว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทางทะเลชนิดหนึ่ง ที่ไม่พบบ่อยนัก แต่ก่อนนั้นมีเพียงเรื่องเล่าจากนักเดินเรือที่ได้ประสบกับคลื่นชนิดนี้เท่านั้น จนกระทั่งได้มีการยืนยันถึงการมีอยู่จริงของคลื่นประเภทนี้ จากการวัดขนาดของคลื่นที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน ดรอพเนอร์ (Draupner) ที่ทะเลเหนือ (North Sea) ในมหาสมุทรแอตแลนติก ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของคลื่นประเภทนี้นั้น ได้จบลงในปี ค.ศ. 2004 เมื่อ โครงการแมกซ์เวฟ (Project MaxWave) และ ศูนย์วิจัย GKSS (GKSS Research Centre) ได้ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของ องค์กรอวกาศยุโรป (en:European Space Agency) เพื่อระบุคลื่นประเภทนี้ และได้ค้นพบคลื่นนี้หลายสิบลูกในระหว่างทำการศึกษาวิจัย


ประวัติ
การเกิดคลื่นขนาดใหญ่กลางทะเล ระหว่างมีพายุ ซึ่งอาจมีขนาดความสูงของคลื่น 7 เมตร (23 ฟุต) หรือในกรณีพายุรุนแรงนั้นอาจมีความสูงถึง 15 เมตร (50 ฟุต) นั้นถือเป็นเหตุการณ์ปกติ อย่างไรก็ตามในหลายศตวรรษที่ผ่านมาได้มีเรื่องเล่าขานกล่าวถึงพายุขนาดยักษ์ ที่มีความสูงของคลื่นถึง 30 เมตร (100 ฟุต ประมาณเท่ากับความสูงของตึก 12 ชั้น) ผุดขึ้นมากกลางมหาสมุทร แม้กระทั่งสวนทิศทางกับกระแสน้ำ และ คลื่นผิวน้ำ และมักจะเกิดในช่วงอากาศปลอดโปร่ง ได้มีการกล่าวขานถึงลักษณะของคลื่นว่า เหมือนเป็นกำแพงน้ำขนาดยักษ์ โดยมีท้องคลื่น คือระดับน้ำที่ยุบตัวลงวิ่งนำหน้า ระดับน้ำที่ยุบตัวลงนี้มีจุดต่ำสุดที่ลึกมากจนถูกขนานนามว่าเป็น "hole in the sea" (หลุมในทะเล) เรือที่โดนคลื่นประเภทนี้ซัดมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกจมภายในเวลาไม่กี่วินาที เนื่องจากแรงดันมหาศาลจากน้ำที่ซัดเข้าใส่ที่อาจสูงถึง 100 ตัน ต่อ ตารางเมตร เรือโดยทั่วไปนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถทนทานต่อคลื่นพายุที่สูงถึง 15 เมตร และความกดดันประมาณ 15 ตันต่อตารางเมตร และทนทานได้มากกว่านั้นถึงสองเท่าคือคลื่นสูงประมาณ 20 เมตร โดยที่อาจมีความเสียหายแก่เรือ

เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ที่นักวิทยาศาสตร์ ได้สรุปว่าเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับคลื่นนี้นั้นไม่เป็นจริง เนื่องมาจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของคลื่นนั้น ระบุให้เห็นว่าโอกาสที่จะเกิดคลื่นที่มีขนาดสูงกว่า 15 เมตรนั้นมีน้อยมาก ด้วยความน่าจะเป็นในระดับที่เรียกว่า "เกิด 1 ครั้ง ใน 10,000 ปี" เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงไม่กี่ปีมานี้ได้ยืนยันว่า คลื่นขนาดที่มีความสูงถึง 30 เมตรนั้น สามารถพบเห็นได้บ่อยกว่าที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นแบบจำลองความสูงของคลื่นเชิงเส้น ได้คาดหมายไว้มาก โดยที่มีการเกิดคลื่นดังกล่าวขึ้นในมหาสมุทรทั่วโลก หลายครั้งต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นเหตุให้นักวิทยาศาสตร์หันกลับมาพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิดคลื่นดังกล่าว รวมทั้งตั้งประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ หลักการและทฤษฎี ทางวิศวกรรมทางทะเล ที่เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาเป็นเวลานาน อย่างจริงจัง

หมายเหตุ : คลื่นยักษ์ที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นคลื่นคนละประเภทกับคลื่นสึนามิ ซึ่งเคยเรียกกันว่า คลื่นทะเล หรือ ไทดอลเวฟ (tidal wave) สึนามินั้นเป็นคลื่นเคลื่อนตัว เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง และ สังเกตยากในบริเวณน้ำลึก มีอันตรายเมื่อเคลื่อนตัวขึ้นชายฝั่ง ในบริเวณน้ำลึกนั้นคลื่นสึนามิไม่มีอันตรายต่อเรือ ซึ่งแตกต่างจากคลื่นยักษ์ซึ่งเป็นคลื่นเฉพาะบริเวณ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบริเวณห่างจากชายฝั่ง




ความถี่ของการเกิดคลื่นยักษ์
โครงการแมกซ์เวฟ ได้ทำการศึกษาพื้นผิวมหาสมุทรโดยการใช้เรดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ในปี ค.ศ. 2001 โดยได้ทำการเก็บภาพถึง 30,000 ภาพโดยแต่ละภาพครอบคลุมบริเวณขนาด 10 x 5 กิโลเมตร รวมทั้งหมดครอบคลุมพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตร และสามารถตรวจจับการเกิดคลื่นยักษ์ใน 10 รูป หรือเท่ากับคลื่นยักษ์ 1 ลูกใน 150,000 ตารางกิโลเมตร สังเกตว่าคลื่นที่เกิดชั่วประเดี๋ยวประด๋าว เกิดขึ้นในมหาสมุทรบริเวณกว้าง ด้วยความถี่ดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ยาก [1]

[แก้] สาเหตุที่เป็นไปได้ของการเกิดคลื่นยักษ์
เนื่องจากปรากฏการณ์การเกิดคลื่นยักษ์นี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจับ ดังนั้นจึงยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าสาเหตุหลักของการเกิดคลื่นยักษ์นี้คืออะไร และมีสาเหตุที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่หรือไม่ บริเวณที่มีโอกาสเกิดคลื่นยักษ์สูง ดูเหมือนจะเป็นบริเวณที่มี กระแสน้ำรุนแรงไหลสวนทางกับ ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นผิวน้ำ เช่น บริเวณใกล้กับ แหลมอากูลาส (en:Cape Agulhas) ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แต่คุณลักษณะดังกล่าวก็ไม่ได้อธิบายถึง สาเหตุของคลื่นยักษ์ที่เกิดในบริเวณอื่นบางบริเวณ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะมีกลไกอื่นที่เป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นยักษ์นี้ และอาจจะแตกต่างกันไปตามสถานที่ต่าง ๆ กลไกของการเกิดคลื่นยักษ์ที่เป็นไปได้มีดังต่อไปนี้

การรวมตัวที่จุดร่วมจากการกระเจิง (diffractive focusing) ซึ่งอาจเกิดจาก รูปร่างของชายฝั่ง หรือ พื้นดินก้นทะเล
การรวมตัวที่จุดร่วมจากกระแสน้ำ
ผลจากความไม่เชิงเส้น (ในลักษณะเดียวกับ โซลิตอน)
มีผลงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า การเกิดของคลื่นยักษ์จากคลื่นขนาดย่อยจำนวนมาก โดยกระบวนการไม่เป็นเชิงเส้นตามธรรมชาติ นั้นเป็นไปได้ โดยได้มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า คลื่นที่ไม่เสถียรและมีขนาดใหญ่กว่าปกตินี้ เกิดจากการดูดซับพลังงานจากคลื่นย่อย ๆ แล้วก่อตัวเป็นคลื่นขนาดมหึมา ก่อนที่จะสลายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากความไม่มีเสถียรภาพ คลื่นลักษณะนี้จำลองโดยการใช้ สมการเชรอดิงเงอร์ไม่เป็นเชิงเส้น (en:nonlinear Schrödinger equation) ซึ่งเป็นสมการคลื่นที่รู้จักกันดีในฟิสิกส์ควอนตัม สมการเชรอดิงเงอร์ไม่เป็นเชิงเส้นนี้จำลองพฤติกรรมของคลื่นปกติ (จากแบบจำลองเชิงเส้น) ที่ดูดซับพลังงานจากลูกคลื่นก่อนหน้า และที่ตามหลังมา ทำให้คลื่นเหล่านั้นลดขนาดลงจนกลายเป็นเหมือนเพียงผิวน้ำกระเพื่อม ยอดคลื่นขนาดยักษ์ และ ผิวน้ำที่ยุบตัวลงเป็นหลุมลึกที่ปกติพบเห็นทางด้านหน้าและหลังคลื่นนั้น จะปรากฏอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่นาทีก่อนที่จะสลายตัว หรือ ลดขนาดลง

เท่าที่ทราบ ดูเหมือนว่าคลื่นยักษ์นี้จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ

"กำแพงน้ำ" (walls of water) เป็นคลื่นที่เคลื่อนตัวในทะเลไกลถึง 10 กิโลเมตร
"สามอนงค์" (three sisters) มีลักษณะเป็นกลุ่มคลื่น 3 ลูก (Endeavour หรือ Caledonian Star report 2 มีนาคม ค.ศ. 2001,
53°03′S 63°35′W)

คลื่นมรสุมเดี่ยวขนาดยักษ์ ก่อตัวสูงถึง 4 เท่าของคลื่นมรสุมปกติ และสลายตัวภายในไม่กี่วินาที (en:MS Bremen report 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001,
45°54′S 38°58′W)

รายงานการพบคลื่นยักษ์
Bremen (แอตแลนติกใต้, ค.ศ. 1989)
en:RMS Queen Elizabeth 2 (แอตแลนติกเหนือ, ค.ศ. 1995)
en:Caledonian Star (แอตแลนติกใต้, ค.ศ. 2001)
en:Norwegian Dawn, (นอกชายฝั่งของ มลรัฐจอร์เจีย, 16 เมษายน, ค.ศ. 2005)
รายงานข่าว
รายงานข่าว


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เสียง


เสียง เป็นคลื่นกลที่ใช้อากาศเป็นพาหะ เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่าน สุญญากาศ เช่น ในอวกาศ ได้

เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหูของเรา มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้

คุณลักษณะของเสียง
คุณลักษณะเฉพาะของเสียง ได้แก่ ความถี่ ความยาวช่วงคลื่น แอมปลิจูด และความเร็ว

เสียงแต่ละเสียงมีความแตกต่างกัน เสียงสูง-เสียงต่ำ, เสียงดัง-เสียงเบา, หรือคุณภาพของเสียงลักษณะต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง และจำนวนรอบต่อวินาทีของการสั่นสะเทือน

ความถี่
ระดับเสียง (pitch) หมายถึง เสียงสูงเสียงต่ำ สิ่งที่ทำให้เสียงแต่ละเสียงสูงต่ำแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือนของวัตถุ วัตถุที่สั่นเร็วเสียงจะสูงกว่าวัตถุที่สั่นช้า โดยจะมีหน่วยวัดความถี่ของการสั่นสะเทือนต่อวินาที เช่น 60 รอบต่อวินาที, 2,000 รอบต่อวินาที เป็นต้น และนอกจาก วัตถุที่มีความถี่ในการสั่นสะเทือนมากกว่า จะมีเสียงที่สูงกว่าแล้ว หากความถี่มากขึ้นเท่าตัว ก็จะมีระดับเสียงสูงขึ้นเท่ากับ 1 ออกเตฟ (octave) ภาษาไทยเรียกว่า 1 ช่วงคู่แปด

[แก้] ความยาวช่วงคลื่น
ความยาวช่วงคลื่น (wavelength) หมายถึง ระยะทางระหว่างยอดคลื่นสองยอดที่ติดกันซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการอัดตัวของคลื่นเสียง (คล้ายคลึงกับยอดคลื่นในทะเล) ยิ่งความยาวช่วงคลื่นมีมาก ความถึ่ของเสียง (ระดับเสียง) ยิ่งต่ำลง

[แก้] แอมปลิจูด
แอมปลิจูด (amplitude) หมายถึง ความสูงระหว่างยอดคลื่นและท้องคลื่นของคลื่นเสียง ที่แสดงถึงความเข้มของเสียง (Intensity) หรือความดังของเสียง (Loudness) ยิ่งแอมปลิจูดมีค่ามาก ความเข้มหรือความดังของเสียงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

ตัวกลางของคลื่น


ตัวกลางที่คลื่นใช้ในการแผ่กระจายออก แบ่งออกเป็นประเภทได้ตามคุณลักษณะต่อไปนี้:

ตัวกลางเชิงเส้น มีคุณสมบัติที่ขนาดของผลรวมคลื่น ที่จุดใด ๆ ในตัวกลางมีขนาดเท่ากับผลบวกของขนาดของคลื่นต่างขบวนกัน
ตัวกลางจำกัด คือ ตัวกลางที่มีขนาดจำกัด
ตัวกลางเนื้อเดียว คือ ตัวกลางที่มีคุณสมบัติเหมือนๆ กันในทุกตำแหน่ง
ตัวกลางไอโซทรอปิก คือ ตัวกลางที่มีคุณสมบัติ ไม่ขึ้นกับทิศทาง
[แก้] คุณสมบัติของคลื่น
คลื่นทุกประเภทจะมีพฤติกรรมร่วมที่เหมือนกันภายใต้สภาวะปกติ โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ

การสะท้อน (en:reflection) คลื่นเปลี่ยนทิศทางโดยการสะท้อนเมื่อตกกระทบพื้นผิว
การหักเห (en:refraction) คลื่นเปลี่ยนทิศทางเมื่อเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง
การเลี้ยวเบน (en:diffraction) คลื่นเคลื่อนที่ขยายวงออกเรื่อยๆ เช่น ลำคลื่นที่วิ่งผ่านออกจากช่องแคบๆ จะมีลักษณะขยายขนาดลำออก
การแทรกสอด (en:inference) เกิดจากการซ้อนทับกันของคลื่น เมื่อวิ่งมาตัดกัน
การกระจาย (en:dispersion) องค์ประกอบที่ความถี่ต่างกันของคลื่น จะมีการแยกตัวออกห่างจากกัน
การแผ่เชิงเส้นตรง (en:rectilinear propagation) การเคลื่อนที่ของคลื่นเป็นเส้นตรง




http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99

คลื่น

คลื่น หมายถึง ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจาย เคลื่อนที่ออกไป ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง
ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave)




http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99

etvthai